ภาพรวม

ความต้องการก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยลดลง รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติโดยส่งเสริมให้มีผู้จัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติหลายราย และให้บริษัทเอกชนสามารถลงทุนในโครงการท่าเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวได้ เพื่อกระตุ้นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ซึ่งนโยบายเหล่านี้มุ่งเน้นการส่งเสริมการแข่งขันในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เพิ่มจำนวนผู้ค้าก๊าซธรรมชาติ และเตรียมการสำหรับการเปิดเสรีตลาดก๊าซธรรมชาติในอนาคต

ในการสนับสนุนนโยบายและมาตรการที่มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กำลังเป็นประเด็นหารือในระดับโลก รัฐบาลไทยได้ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดผ่านการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก เนื่องจากพลังงานที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลชนิดอื่นๆ และมีความเสถียรมากกว่าเมื่อเทียบกับพลังงานหมุนเวียน

GULF ได้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยมีการลงทุนและพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติในหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภท

Natural Gas Distribution
โครงการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ

GULF ได้ลงทุนและพัฒนา ก่อสร้าง และบริหารจัดการระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ในโครงการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ ซึ่งท่อเหล่านี้เชื่อมต่อกับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) โดยตรง

ท่อส่งก๊าซธรรมชาตินี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม การเชื่อมต่อดังกล่าวได้รับการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกจากบริษัท ปตท. จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด (PTT NGD) ซึ่งมีหน้าที่จัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับกลุ่มลูกค้าภาคอุตสาหกรรมและภาคพลังงานทั่วประเทศ

LNG Terminal
โครงการท่าเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

GULF เป็นผู้พัฒนาและดำเนินโครงการท่าเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โครงการนี้ดำเนินการภายใต้รูปแบบสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnerships) ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT)

โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก:

  1. การออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน: รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถ ดูได้ที่นี่
  2. การออกแบบ ก่อสร้าง และประกอบกิจการท่าเทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว: โครงการครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ (ประมาณ 79 เอเคอร์ หรือ 32 เฮกตาร์) ของพื้นที่ถมทะเล เพื่อรองรับการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว ขั้นต้นอย่างน้อย 5 ล้านตันต่อปี ในระยะที่ 1 และสามารถขยายความสามารถในการขนส่งได้จนถึง 10.8 ล้านตันต่อปี ในระยะที่ 2
LNG Shipper
โครงการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ

GULF ดำเนินธุรกิจจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติภายใต้บริษัทย่อย บริษัท กัลฟ์ แอลเอ็นจี จำกัด (GULF LNG) และบริษัทร่วมค้า บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด (HKH) ซึ่งทั้งสองบริษัทได้รับใบอนุญาตในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (Shipper License) จากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ERC) 6.4 ล้านตันต่อปี และ 1.4 ล้านตันต่อปี ตามลำดับ และมีปริมาณรวมคิดเป็น 7.8 ล้านตันต่อปี โดยทั้ง GULF LNG และ HKH สามารถจัดหา LNG จากผู้ขาย LNG ทั่วโลก

โดยที่ LNG จะถูกทำการเก็บรักษาและแปลงสภาพกลับสู่สถานะก๊าซธรรมชาติผ่านกระบวนการ Regasification ที่ท่าเรือ LNG หลังจากนั้น ก๊าซธรรมชาติจะถูกส่งผ่านเข้าระบบท่อส่งของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) เพื่อนำก๊าซธรรมชาติไปจำหน่ายให้แก่โรงไฟฟ้าประเภท IPPs และ SPPs รวมถึงจัดจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มบริษัท

เข้าสู่เว็บไซต์ GULF LNG

โครงการของเรา