
ภาพรวมองค์กร
ประวัติความเป็นมา
จากรากฐานที่มั่นคง สู่อนาคตที่ยั่งยืน
กว่า 20 ปีที่ผ่านมา GULF ได้วางรากฐานที่มั่นคงและก้าวสู่อนาคตของพลังงานที่ยั่งยืน จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการบริหารโรงไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2537 เราได้ปรับเปลี่ยนมุมมองและกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สู่การใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการเปลี่ยนจากการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินมาใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ
ในปี พ.ศ. 2550 บริษัท กัลฟ์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (GHC) ก่อตั้งขึ้นภายใต้การนำของคุณสารัชถ์ รัตนาวะดี และพันธมิตร เพื่อเข้าร่วมการประมูลโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ IPP และ SPP ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2554 บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ก่อตั้งขึ้น และปัจจุบันจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ภายใต้ชื่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า "GULF"
ปัจจุบัน GULF มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด "Powering the future, empowering the people" เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงเพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมกับการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล และพลังงานขยะ นอกจากนี้ เรายังขยายธุรกิจไปสู่ตลาดต่างประเทศและภาคอุตสาหกรรมใหม่ๆ ซึ่งครอบคลุมทั้งการจัดหาและขายส่งก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล การสื่อสารโทรคมนาคม และดาวเทียม โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศและภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง


มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ
เรามุ่งส่งเสริมให้บุคลากรมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ และเดินหน้าสู่เป้าหมายของบริษัทไปด้วยกัน

ความสามัคคีและความร่วมมือ
เราสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนการแบ่งปันความรู้ การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรทุกระดับ

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
บุคลากรของเราจะได้รับการส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา สำรวจแนวคิดใหม่ๆ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องผ่านโอกาสการฝึกอบรมตลอดทั้งปี

ความยืดหยุ่นในการทำงาน
บุคลากรของเราต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเสมอ เปิดรับมุมมองใหม่ๆ และแสดงศักยภาพในการแก้ไขปัญหาและความยืดหยุ่นในหน้าที่การงาน
พัฒนาการที่สำคัญ

- การดำเนินงานโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ: โครงการ GPD เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ครบทุกหน่วย โดยมีขนาดกำลังการผลิต รวมทั้งสิ้น 2,650 เมกะวัตต์ และโครงการ HKP หน่วยที่ 1 กำลังการผลิต 770 เมกะวัตต์ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อย
- เอกชนรายแรกของไทย ในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG): HKH เป็นเอกชนรายแรกที่ได้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวสู่ประเทศไทย โดยเป็นการจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโครงการโรงไฟฟ้า HKP ซึ่งได้เริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567
- ขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย: กลุ่ม GULF ได้เข้าลงนามในสัญญา PPA เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม ทำให้กลุ่มบริษัทฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว รวมทั้งสิ้น 3,142 เมกะวัตต์
- ต่อยอดธุรกิจดิจิทัล: Gulf Edge ได้ร่วมมือกับบริษัท กูเกิล เอเชีย แปซิฟิก จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการให้บริการระบบคลาวด์ Google Distributed Cloud air-gapped ซึ่งเป็นระบบคลาวด์ที่มีเสถียรภาพและความปลอดภัยของข้อมูลสูง ในขณะเดียวกัน Gulf Binance ได้เปิดให้บริการแพลตฟอร์ม Binance TH by Gulf Binance แก่ประชาชนทั่วไปเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้ GSA DC ได้ลงนามในสัญญาการให้บริการศูนย์ข้อมูลกับ Siam AI ซึ่งเป็นบริษัทไทย รายแรกที่เป็นพันธมิตรกับ NVIDIA Corporation
- การควบบริษัทระหว่าง GULF และ INTUCH: ลดความซับซ้อนของโครงสร้างการถือหุ้น ช่วยให้การบริหารธุรกิจมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินให้เหมาะสม

- การดำเนินงานโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ: โครงการ GPD เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์สำหรับหน่วยผลิตไฟฟ้า 1-2 ขนาดกำลังการผลิต 1,325 เมกะวัตต์
- การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าต่างประเทศ: โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ DIPWP ในประเทศโอมาน ขนาดกำลังการผลิต 326 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม MKW ในประเทศเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิต 128 เมกะวัตต์ ทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ตามแผนกำลังการผลิตตามสัญญาเป็นที่เรียบร้อย
- การลงทุนเพิ่มเติมในต่างประเทศ: กลุ่ม GULF ขยายการลงทุนในต่างประเทศ โดยการเข้าถือหุ้นร้อยละ 49.00 ในโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขั้นสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1,200 เมกะวัตต์ และขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี ขนาดกำลังการผลิตรวม 1,500 เมกะวัตต์
- เริ่มลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ: GULF ขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ไปสู่พลังงานน้ำ โดยมีการลงทุนร้อยละ 19.99 ในโครงการ Luang Prabang ใน สปป.ลาว ขนาดกำลังการผลิต 1,460 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทยังได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟผ. เพื่อพัฒนาโครงการ Pak Lay และ Pak Beng ใน สปป.ลาว ซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 770 เมกะวัตต์ และ 912 เมกะวัตต์ ตามลำดับ
- โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศ: กลุ่ม GULF ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามประกาศด้วยวิธีรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ของภาครัฐ และได้ทำข้อตกลงในสัญญา PPA เพื่อพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินกำลังการผลิตรวม 300 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานลมกำลังการผลิตรวม 1,200 เมกะวัตต์ พร้อมระบบกักเก็บพลังงาน กำลังการผลิตรวม 1,526 เมกะวัตต์ รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังอุตสาหกรรมกำลังการผลิตรวม 20 เมกะวัตต์ ในประเทศไทย
- เอกชนรายแรกของไทย ในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG): โดย HKH ได้ลงนามสัญญาจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 0.5 ล้านตันต่อปี ร่วมกับ Gunvor Singapore Pte. Ltd. สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของโครงการโรงไฟฟ้าของ HKP โดยมีกำหนดเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
- การต่อยอดธุรกิจดิจิทัล: Gulf Binance ได้รับอนุญาตจาก สำนักงาน ก.ล.ต. ให้สามารถเริ่มประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ได้แก่ บริการซื้อขาย และได้เปิดให้บริการแพลตฟอร์ม Binance by Gulf Binance แก่ประชาชนทั่วไป ในเดือนมกราคม 2567

- การดำเนินงานโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ: โครงการ GSRC เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มเติม สำหรับหน่วยผลิตที่ 3-4 ขนาดกำลังการผลิต 1,325 เมกะวัตต์
- การลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานลม: GULF ร่วมกับ GUNKUL จัดตั้ง GGC เพื่อลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทย ขนาดกำลังการผลิตรวม 177.5 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ลดสัดส่วนการลงทุนทางอ้อมในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม BKR2 ในประเทศเยอรมนี ขนาดกำลังการผลิต 465 เมกะวัตต์ จากสัดส่วน 50.00 เหลือร้อยละ 24.99
- ขยายการลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน: GULF ขยายธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม โดยการเพิ่มการถือหุ้นใน INTUCH เป็นสัดส่วน 28.87 ใน TTT ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโครงข่ายการสื่อสารและให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในอุตสาหกรรมบางภาค
- การลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจดิจิทัล: กลุ่มบริษัทฯ ขยายธุรกิจดิจิทัลเพิ่มเติมผ่านการลงทุนใน THCOM ในสัดส่วนร้อยละ 41.14 และการลงทุนในหุ้นสามัญของ ADVANC เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการศูนย์ข้อมูล (Data center) ในประเทศไทย